กินป้องกันโรคกระดูกพรุน

     โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ซึ่งอาจเกิดจากโครงสร้างภายในของกระดูกถูกทำลาย หรือเกิดการสลายตัวจนทำให้เนื้อของกระดูกมีลักษณะเป็นรูพรุน มีผลทำให้กระดูกส่วนต่างๆ มีภาวะแตกหักง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ปวดหลังบ่อยๆ กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง กระดูกแขน ขา กระดูกสะโพก กระดูกหลังเปราะหักง่าย บางคนอาจเดินไม่ได้ จากสถิติของWHO พบว่าภาวะโรคกระดูกพรุนเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี เป็นต้นไป หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โดยพบ 1 ใน 3 ของผู้หญิง ส่วนผู้ชายพบ 1 ใน 8

     ประเภทอาหารที่จำเป็นต่อกระดูก

     แคลเซียม

     มีบทบาทและหน้าที่ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน แหล่งอาหารที่ให้แคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต ถั่ว ธัญพืชต่างๆ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ที่สามารถรับประทานได้ทั้งกระดูก

     วิตามินดี

     เป็นสารอาหารที่ทำหน้าที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น วิตามินดีได้จากแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าประมาณ 10-15 นาที ก็ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดี คือ น้ำมันตับปลา ปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาซาดีน แซลมอน แมคเคอเรล ปลาทูน่า และพืชที่มีวิตามินดีสูง เช่น เห็ด ( มีสารเออโกสเตียรอล )

      แมกนีเซียม

     มีสารสำคัญในการผลิตพลังงาน สร้างโปรตีน ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ พบมากใน ธัญพืช แป้ง อาหารทะเล

     ทองแดง แมงกานีส สังกะสี

     ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในกลไกการสร้างกระดูกและช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แหล่ง

 

      อาหาร ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลันเตา ธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียว บล็อคโคลี สาหร่ายทะเล เต้าหู้ และน้ำนมเต้าหู้ ที่ได้จากถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวน ซึ่งมีผลต่อ  ความแข็งแรงของกระดูกโดยตรงและช่วยเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจน

     ถ้าไม่อยากเป็นโรคกระดูกพรุนก็ต้องเริ่มสะสมแคลเซียมตั้งแต่วัยเด็ก และควรสะสมให้เหมาะสมตลอดช่วงอายุ รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมด้วยการออกกำลังกายให้เหมาะสมเพื่อโครงสร้างของกระดูกและร่างกายที่แข็งแรง

Please follow and like us:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *